GUN GALLERY IN THAILAND

อสม พนักงานราชการ และ ชรบ

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

อสม พนักงานราชการ และ ชรบ
« เมื่อ: เมษายน 10, 2021, 15:02:27 »
อยากทราบว่า ชรบ หรือ อสม และพนักงานรายการ สามารถซื้อปืนสวัสดิการ สนสก ได้มั้ยครับ

ออฟไลน์ jatuwat_s

  • **
  • 82
  • +2/-1
  • Line id : 0890138554
Re: อสม พนักงานราชการ และ ชรบ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 11, 2021, 20:33:09 »
อยากเป็น ชรบ. บ้างครับ
ต้องทำยังไง/ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง
ติดต่อ (โจ)
Line id : 0890138554
โทร : 0890138554

ออฟไลน์ สิงห์สามแพร่ง

  • ***
  • 43894
  • +2134/-851
  • จองหงวนติดดิน ตงฉินบ้านนอก
Re: อสม พนักงานราชการ และ ชรบ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 12, 2021, 16:17:52 »
 :LIKE: :LIKE:    :LIKE:

Re: อสม พนักงานราชการ และ ชรบ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: เมษายน 19, 2021, 09:23:20 »
ปรึกษานาย ต้นสักกัดสิครับ  :LIKE:

ออฟไลน์ terpakkapon

  • **
  • 100
  • +0/-0
Re: อสม พนักงานราชการ และ ชรบ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 03, 2021, 11:34:40 »
ขอตอบเฉพาะ ชรบ. นะครับโครงการที่ซื้อได้ สน.อส. กรมการปกครอง และสตช.ของซิก365เท่านั้น สน.สก.ซื้อไม่ได้ครับ ให้ชัวร์ที่สุดยกหูโทรถามวังไชยาครับ ถามร้านปืนหรือถามท้องที่บางทีก็ไม่ชัวร์ ส่วนการสมัคร ชรบ.ยกหูโทรหาผู้ใหญ่บ้านจะได้คำตอบที่ชัดที่สุดครับ :e :e :e :e :e

ออฟไลน์ oat_g26od

  • **
  • 292
  • +0/-0
  • วิศวะ ม.เทคโนโลยีมหานคร
Re: อสม พนักงานราชการ และ ชรบ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 03, 2021, 12:35:58 »
 :e ชรบ.สามารถซื้อปืนสวัสดิการ กรมการปกครอง (สน.อส.) และ ปืนสวัสดิการ กรมการปกครอง และ โครงการ สตช.2563/1 ( P365 ) ได้ครับ
 X ***ปล.ฯ *** ที่ไม่ได้คือ สวัสดิการ กรมการปกครอง (สน.สก.)**** ;D X
เพราะผมก็ซื้อในนาม อปพร. และ ชรบ. มาแล้วครับ (จัดเต็มมาหลายกระบอกแล้วครับ) ;D ;D ส่วนใครที่อยากเป็น ชรบ. ใช้วันและเวลาฝึกอบรม 5 วัน ครับ ที่กองร้อยรักษาดินแดนของจังหวัดนั้นๆ  เวลาจะไปสมัคร ให้ไปสอบถามผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านนั้นๆ ว่ามีโครงการฝึกจัดตั้งชุด ชรบ.มาไหม หรือให้สอบถามที่ปลัดฝ่ายปกครองของที่ว่าการอำเภอนั้นๆ หรือป้องกันจังหวัด ฝ่ายปกครองจังหวัดนั้นๆครับ ***(ให้คำตอบชัวร์สุดๆๆๆๆมากๆๆๆครับ)****  เพราะบ้างที ผู้ใหญ่บ้านยังไม่รู้ก็มีครับ จนกว่าจะมีหนังสือมาถึงผู้ใหญ่บ้านถึงจะทราบครับ   ;D ;D


ระเบียบกระทรวงมหาดไทย

ว่าด้วยการช่วยเหลือเจ้าพนักงานของหน่วยกำลังคุ้มครอง

และรักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน

พ.ศ. ๒๕๕๑

   ด้วยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และจังหวัดอื่น ๆ ที่มีสถานการณ์ด้านความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย จังหวัดและอำเภอได้มีการจัดตั้งชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน ทั้งในหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง และหมู่บ้านปกติ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยอย่างมีประสิทธิภาพ

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับมาตรา ๙๔ มาตรา ๙๕ และมาตรา ๑๐๒ แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ และมาตรา ๑๖ และมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบบริหารหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑  ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการช่วยเหลือเจ้าพนักงานของหน่วยกำลังคุ้มครองและรักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน พ.ศ. ๒๕๕๑”

ข้อ ๒[๑]  ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

บรรดา ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้ว หรือซึ่งขัดแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน

ข้อ ๓  ในระเบียบนี้

“หน่วยกำลังคุ้มครองและรักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน” หมายความว่า หน่วยกำลังคุ้มครองและรักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน ตามกฎหมายว่าด้วยจัดระเบียบบริหารหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง และให้หมายความรวมถึง ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านตามระเบียบนี้

“ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน” หมายความถึง ราษฎรอาสาสมัครในพื้นที่ ที่ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากนายอำเภอให้ปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน และให้เป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน ตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ เรียกโดยย่อว่า “ชรบ.”

“หลักสูตร ชรบ.” หมายความว่า หลักสูตรชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน

“นายอำเภอ” ให้หมายความรวมถึง ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ

“ปลัดอำเภอประจำตำบล” หมายความว่า ปลัดอำเภอซึ่งที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ประจำตำบลหรือเป็นปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำตำบล

 ข้อ ๔  ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ มีอำนาจตีความวินิจฉัยปัญหา และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้

หมวด ๑

การฝึกอบรมชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน

ข้อ ๕  ให้กรมการปกครองจัดให้มีการฝึกอบรมหลักสูตร ชรบ. แก่ราษฎรในพื้นที่ ให้มีจำนวนเพียงพอในการรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยหมู่บ้าน ตามความจำเป็นและเหมาะสมของสถานการณ์ โดยในการฝึกอบรมจะดำเนินการเองหรือหน่วยงานอื่นเป็นผู้ดำเนินการก็ได้ ในกรณีมีความจำเป็น จังหวัดหรืออำเภอจะจัดให้มีการฝึกอบรมหลักสูตรดังกล่าวในพื้นที่ของตนเองก็ได้

ข้อ ๖[๒]  ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร ชรบ. ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

(๑) มีสัญชาติไทย

(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบรูณ์ ในวันที่สมัครเข้ารับการฝึกกอบรม

(๓) มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในหมู่บ้านนั้นไม่น้อยกว่าสามเดือน

(๔) เป็นผู้มีความประพฤติดี

(๕) เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

(๖) มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสามารถเข้ารับการฝึกอบรมได้

 ข้อ ๗[๓]  ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร ชรบ. ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้

(๑) ไม่เป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพ วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบอันเป็นอุปสรรคต่อการฝึกอบรม

(๒) ไม่เป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษหรือพัวพันกับยาเสพติดให้โทษ

(๓) ไม่เป็นพระภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช

 ข้อ ๘  ให้หน่วยจัดฝึกอบรมตามข้อ ๕ จัดทำทะเบียนประวัติผู้ผ่านการฝึกอบรม ชรบ. ในแต่ละรุ่นไว้เป็นหลักฐาน และส่งให้อำเภอที่ผู้ผ่านการฝึกอบรมมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ จำนวนหนึ่งชุด

 หมวด ๒

โครงสร้างและการจัดหน่วย

      ข้อ ๙  ในอำเภอหนึ่งให้มีกองพันหน่วยรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน โดยมีนายอำเภอเป็นผู้บังคับกองพันหน่วยรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน และมีปลัดอำเภอ นายตำรวจชั้นสัญญาบัตร และข้าราชการในพื้นที่ตามที่นายอำเภอแต่งตั้ง เป็นรองผู้บังคับกองพันหน่วยรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน ฝ่ายยุทธการและการข่าว ฝ่ายกิจการมวลชน ฝ่ายกำลังพลและส่งกำลังบำรุง และฝ่ายสื่อสารและงบประมาณ

 ข้อ ๑๐  ในตำบลหนึ่งให้มีกองร้อย ชรบ. โดยมีปลัดอำเภอประจำตำบลเป็นผู้บังคับกองร้อย ชรบ. และมีข้าราชการอื่นตามที่นายอำเภอแต่งตั้ง เป็นรองผู้บังคับกองร้อย ชรบ. ฝ่ายยุทธการและการข่าว ฝ่ายกิจการมวลชน ฝ่ายกำลังพลและส่งกำลังบำรุง และฝ่ายสื่อสารและงบประมาณ โดยให้กำนันในตำบลนั้นเป็นผู้ช่วยผู้บังคับกองร้อย ชรบ.

 ข้อ ๑๑  ในหมู่บ้านหนึ่ง ให้มีหมวด ชรบ. โดยมีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้บังคับหมวด ชรบ. ทหาร ตำรวจหรือสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน จำนวนสองคนเป็นเจ้าหน้าที่โครง ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้บังคับหมวด ชรบ.

ในหมวด ชรบ. ให้แบ่งการปกครองบังคับบัญชาออกเป็นอย่างน้อยสองหมู่ เรียกว่า “หมู่ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านที่ ๑ หมู่ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านที่ ๒ และหมู่ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านที่ ... ตามลำดับต่อไป” โดยมีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้บังคับหมู่ ชรบ. และหมู่ ชรบ. ให้มีจำนวนไม่น้อยกว่าเจ็ดคน แต่ไม่เกินสิบห้าคน ตามความเหมาะสมโดยพิจารณาจากอัตรากำลังพลและสถานการณ์ในพื้นที่

 หมวด ๓

การแต่งตั้ง การสั่งใช้ และการบังคับบัญชา

ข้อ ๑๒  ให้ผู้ใหญ่บ้านพิจารณาคัดเลือกราษฎรที่ผ่านการฝึกอบรมตาม ข้อ ๕ ซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ ๖ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๗ เสนอให้นายอำเภอพิจารณาแต่งตั้งเป็น ชรบ.

 ข้อ ๑๓  ให้นายอำเภอจัดทำทะเบียนประวัติ ชรบ. ตามแบบท้ายระเบียบนี้ และแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นปัจจุบันแล้วเก็บรักษาไว้ที่หมู่บ้าน อำเภอ และจังหวัด แห่งละหนึ่งชุด

 ข้อ ๑๔  ชรบ. พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่เฉพาะตัว เมื่อ

(๑) ตาย

(๒) ลาออก โดยได้รับการอนุมัติจากนายอำเภอ

(๓) นายอำเภอสั่งให้พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ ๒๐

(๔) นายอำเภอสั่งให้พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ โดยเห็นว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติตามข้อ ๖ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๗

 ข้อ ๑๕  การบังคับบัญชา และสั่งใช้ ชรบ. มีดังต่อไปนี้

(๑) ผู้บังคับกองพันหน่วยรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน มีหน้าที่ปกครองบังคับบัญชา ควบคุมกำกับดูแล และให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานของ ชรบ. ในเขตพื้นที่อำเภอ ตามนโยบายของทางราชการ

(๒) ผู้บังคับกองร้อย ชรบ. มีหน้าที่ปกครองบังคับบัญชา ควบคุม กำกับดูแล และให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานของ ชรบ. ในเขตพื้นที่ตำบล ตามนโยบายของทางราชการ และกองพันหน่วยรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน

(๓) ผู้บังคับหมวด ชรบ. มีหน้าที่ปกครองบังคับบัญชา ควบคุม กำกับดูแลและให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานของ ชรบ. ในเขตพื้นที่หมู่บ้าน ตามนโยบายของทางราชการ กองพันหน่วยรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านและกองร้อย ชรบ.

(๔) ผู้บังคับหมู่ ชรบ. มีหน้าที่ปกครองบังคับบัญชา ควบคุม กำกับดูแลและให้การสนับสนุนการปฏิบัติงาน ชรบ. ตามนโยบายของทางราชการ กองพันหน่วยรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน กองร้อย ชรบ. และหมวด ชรบ.

 ข้อ ๑๖  ผู้บังคับกองพันหน่วยรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน และผู้บังคับกองร้อย ชรบ. อาจมอบหมายให้รองผู้บังคับกองพันหน่วยรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน และรองผู้บังคับกองร้อย ชรบ. แล้วแต่กรณี ปฏิบัติหน้าที่แทนก็ได้

 หมวด ๔

การช่วยเหลือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ

หรือเจ้าพนักงานอื่น ในการปฏิบัติหน้าที่

                 
ข้อ ๑๗  ในกรณีที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือเจ้าพนักงานอื่น ได้ร้องขอให้ ชรบ. ช่วยเหลือ ให้ ชรบ. ปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือได้ในเรื่อง ดังต่อไปนี้

(๑) อยู่เวรยามรักษาความสงบเรียบร้อย และรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน

(๒) ตรวจตระเวนรักษาความสงบเรียบร้อย

(๓) สืบสวนหาข่าวพฤติการณ์อันอาจเป็นภยันตรายต่อความมั่นคงหรือความสงบเรียบร้อย

(๔) เฝ้าระวังรักษาสถานที่สำคัญ ตั้งจุดตรวจ จุดสกัด ตรวจสอบบุคคลและยานพาหนะที่ผ่านเข้าออกหมู่บ้าน

(๕) รายงานเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นในพื้นที่ให้ผู้บังคับบัญชาทราบ

(๖) ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา และการก่อความไม่สงบเรียบร้อยในพื้นที่

(๗) ตรวจค้นบุคคลหรือยานพาหนะ ซึ่งมีเหตุสงสัยตามสมควรว่าเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด หรือได้มาโดยกระทำความผิด หรือได้ใช้หรือสงสัยว่าได้ใช้หรือจะใช้ในการกระทำความผิดหรือซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐาน แต่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการค้น ยึดสิ่งของหรืออาวุธที่ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยได้กระทำความผิด หรือซึ่งมีไว้เป็นความผิดตามกฎหมาย ให้รายงานไปยังผู้บังคับบัญชาใกล้ตนโดยเร็ว

(๘) จับผู้กระทำความผิดซึ่งหน้าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และควบคุมตัวผู้ถูกจับส่งผู้บังคับบัญชาใกล้ตนโดยเร็วหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ

(๙) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

(๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

 หมวด ๕

สิทธิ

 ข้อ ๑๘  ชรบ. มีสิทธิ ดังต่อไปนี้

(๑) แต่งเครื่องแต่งกาย และประดับเครื่องหมาย ชรบ.

(๒) ใช้อาวุธของทางราชการในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายตามคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร

(๓) ได้รับสิทธิประโยชน์อื่นใดตามที่กฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่งที่กำหนดไว้

 หมวด ๖

วินัย และการรักษาวินัย

ข้อ ๑๙  ชรบ. ต้องรักษาวินัยตามที่กำหนดไว้เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติโดยเคร่งครัด ดังต่อไปนี้

(๑) สนับสนุนและดำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

(๒) ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยเคร่งครัด และสนับสนุนการปฏิบัติงานหน่วย ชรบ. ต้นสังกัด

(๓) รักษาความสามัคคีในหมู่คณะและเสียสละเพื่อส่วนรวม

(๔) เป็นผู้ประพฤติดี

(๕) ไม่เสพสุราของมึนเมาในขณะปฏิบัติหน้าที่

(๖) ไม่เปิดเผยความลับของทางราชการ

(๗) ไม่แสวงหาผลประโยชน์อันมิชอบเพื่อตนเองหรือผู้อื่นจากการปฏิบัติหน้าที่

(๘) ไม่เป็นผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้เสพ หรือผู้สนับสนุนเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ

 ข้อ ๒๐  ชรบ. ผู้ใดกระทำผิดวินัยตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๙ ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจเหนือตนว่ากล่าวตักเตือนเป็นหนังสือได้

กรณีการกระทำความผิดวินัยตามวรรคหนึ่งมีลักษณะร้ายแรง ให้นายอำเภอสั่งให้พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ได้

 หมวด ๗

วุฒิบัตร บัตรประจำตัว เครื่องแต่งกาย และเครื่องหมาย

 ข้อ ๒๑  ให้กรมการปกครอง จังหวัด หรือหน่วยที่จัดการฝึกอบรมตามหลักสูตร ชรบ. จัดทำวุฒิบัตรมอบให้แก่ผู้สำเร็จการฝึกอบรมหลักสูตร ชรบ. ตามแบบท้ายระเบียบนี้

 ข้อ ๒๒  ให้นายอำเภอผู้สั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ออกบัตรประจำตัวให้แก่ ชรบ. ตามแบบท้ายระเบียบนี้

บัตรประจำตัว ชรบ. มีอายุหกปี เมื่อบัตรประจำตัวชำรุด สูญหาย หมดอายุ หรือมีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญ เช่น ชื่อตัว ชื่อสกุล เป็นต้น ให้ผู้ขอมีบัตรยื่นคำขอตามแบบท้ายระเบียบนี้ต่อนายอำเภอ เพื่อออกบัตรประจำตัวใหม่

ในกรณีที่ ชรบ. พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ก่อนหกปี ให้คืนบัตรประจำตัว ชรบ. ต่อผู้บังคับบัญชาเหนือตนภายในเจ็ดวัน

ให้นายอำเภอ จัดให้มีทะเบียนควบคุมบัตรประจำตัวตามแบบทะเบียนควบคุมท้ายระเบียบนี้ โดยให้ใช้เลขลำดับในทะเบียนบัตรเป็นเลขที่บัตรตามลำดับ เมื่อสิ้นปีปฏิทินให้เริ่มเลขที่ใหม่ เมื่อออกบัตรประจำตัวให้แก่ผู้ใดแล้ว ให้สำเนารายการบัตรประจำตัวไว้ แล้วจัดเก็บพร้อมแบบคำขอมีบัตรและหลักฐานประกอบอื่น ๆ (ถ้ามี) ของแต่ละคน เพื่อเป็นหลักฐาน และแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

ข้อ ๒๓  เครื่องแต่งกายและเครื่องหมาย ชรบ. ให้เป็นไปตามแบบท้ายระเบียบนี้ประกอบด้วย

(๑) หมวกแก๊ปทรงอ่อนสีน้ำเงิน

(๒) เสื้อคอเปิดแขนยาวสีน้ำเงิน

(๓) กางเกงขายาวสีน้ำเงิน

(๔) เข็มขัดด้ายถักสีน้ำเงิน

(๕) รองเท้าหุ้มส้นสีดำ

ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

พลตำรวจเอก โกวิท  วัฒนะ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 07, 2021, 13:00:44 โดย oat_g26od »
โอ๊ต เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส
จำหน่าย:อุปกรณ์กู้ชีพ-กู้ภัย ไฟไซเรน วิทยุสื่อสารรับ-ส่ง ทุกชนิด
ย่านสมัครเล่น,ย่านประชาชนCB,และย่านหน่วยงานราชการต่างๆ ฯลฯ
                 Tel. 091-0609984